สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว เราทราบกันแล้วว่า Active Voice และ Passivevoice นั้น คืออะไร..? แล้วเราก็ยังทราบอีกว่า การเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice นั้น โดยการสลับตำแหน่งกัน ระหว่างประธานกับกรรม โดยการนำกรรมของประโยคมาอยู่ในตำแหน่งประธานและทำหน้าที่ประธานของประโยค Passive voice

ทีนี้.. เรามาเรียนรู้กันต่อว่า การที่จะเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice โดยการสลับตำแหน่งกรรมมาอยู่ในตำแหน่งประธานและทำหน้าที่ประธานของประโยค นั้น มีหลักอย่างไร..?

หลักการเปลี่ยน Active voice เป็น Passive voice

1. สลับตำแหน่งระหว่างประธานและกรรมของประโยค Active voice โดยกรรมย้ายมาอยู่ในตำแหน่งประธานและทำหน้าที่ประธาน ส่วนประธานย้ายไปอยู่ในตำแหน่งกรรม ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม ในประโยค Passive voice โดยวางไว้หลัง by

2. ให้เปลี่ยนกริยาในประโยค Active voice เป็นรูปที่ 3 (past participle) ใน Passive voice โดยตามหลัง Verb to be ซึ่ง Verb to be นี้ จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามประธานและ Tenses แต่ละ Tense

3. ถ้าประธานของประโยค Active voice เป็นคำสรรพนาม (Pronoun) เราต้องเปลี่ยนคำสรรพนามจากรูปประธานหรือรูปกรรม มาเป็นรูปกรรมหรือรูปประธานในประโยค Passive voice

  • Active voice : Jack drives a Honda car.
  • Passive voice : A Honda car is driven by Jack.
  • Active voice : Snake bit me.
  • Passive voice : I was bitten by snake.
  • Active voice : He feeds a dog.
  • Passive voice : A dog is fed by him.

บางครั้งประธานของประโยค Active voice ก็สามารถที่จะละเว้นได้ ถ้าประโยค Passive voice นั้น มีความหมายเพียงพอถึงแม้จะไม่มีประธานในประโยค Active voice มาเป็นส่วนเติมเต็มขยายความ

  • Active voice : Policeman arrested a theft.
  • Passive voice : A theft was arrested. (หัวขโมยถูกจับ)

ในประโยคนี้ เราสามารถละประธานของประโยค Active voice ใน Passive voice ได้ ถึงแม้ไม่มี เราก็เข้าใจความหมาย เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าใครเป็นคนจับ

ในบางครั้งประโยคอาจจะมีกรรม 2 ตัว คือกรรมตรง (Direct object) เป็นสิ่งของ และกรรมรอง (Indirect object) เป็นคน เมื่อเปลี่ยนประโยคเป็น Passive voice เราสามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ

  • Active voice : The teacher teaches us English.
  • Active voice The teacher teaches English to us.
  • Passive voice : We are taught English by the teacher.
  • Passive voice English is taught to us by the teacher.

หมายเหตุ ในการเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice นั้น ใช่จะเปลี่ยนได้ทั้งหมดทุกประโยค ยังมีเงื่อนไขข้อยกเว้นอื่นๆประกอบอีก


Tenses ในภาษาอังกฤษนั้น มีโครงสร้างอยู่ 2 รูปแบบ คือ Active voice และ Passive voice

Active voice ก็คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำกริยาในประโยคด้วยตัวเอง ซึ่งเราได้เรียนรู้โครงสร้างกันมาแล้วในหลักการใช้ 12 Tenses ส่วน Passive Voice ก็คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ การที่จะเรียนรู้ Passive voice นั้น เราจะต้องเข้าใจในหลักการใช้ 12 Tenses มาแล้วพอสมควร เพราะจะเป็นการอธิบายขยายความเพิ่มเติมจากโครงสร้าง 12 Tenses นั่นเอง

เราทราบกันแล้วใช่มั้ย..? ว่าองค์ประกอบของประโยคนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ

  • ประธาน คือ ผู้กระทำ
  • กริยา คือ อาการกระทำ
  • กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ

ตัวอย่าง เช่น Thai people eat rice.

  • ประธาน คือ Thai people (คนไทย)
  • กริยา คือ eat (กิน)
  • กรรม คือ rice (ข้าว)

จะเห็นได้ว่า ประโยคตามตัวอย่างนี้ เน้นประธาน คือ Thai people โดยการเอาประธานขึ้นต้นประโยค เพื่อเน้นว่า “ ใครหรือสิ่งใด ทำอะไร “ ซึ่งเราเรียกประโยคแบบนี้ว่า Active voice

ทีนี้.. เรามาสลับตำแหน่งกัน โดยการเอากรรมมาเป็นประธานขึ้นต้นประโยค ก็จะกลายเป็น Rice is eaten by Thai people.

  • ประธาน คือ Rice (ข้าว)
  • กริยา คือ is eaten (ถูกกิน)
  • by Thai people (โดยคนไทย) ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย

ประโยคนี้ จะเน้นกรรม คือ Rice โดยการนำผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค เพื่อเน้นว่า “ ใครหรือสิ่งใด ถูกกระทำ “ เราเรียกประโยคแบบนี้ว่า Passive voice

ตามตัวอย่างทั้ง 2 จึงสรุปได้ว่า

  • Active voice คือ ประโยคที่เน้นประธาน ว่าใครหรือสิ่งใดเป็นผู้กระทำ
  • Passive voice คือ ประโยคที่เน้นกรรม ว่าใครหรือสิ่งใดเป็นผู้ถูกกระทำ

ซึ่งประโยคทั้ง 2 นี้จะสื่อความหมายเดียวกัน โดยประโยคแรกประธานเป็นผู้กระทำ ส่วนประโยคที่ 2 ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ จะเห็นได้ว่า ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ Passive voice นี้ เป็นการเปลี่ยนมาจากประโยคประธานเป็นผู้กระทำ Active voice โดยการสลับตำแหน่งกัน โดยเอากรรมมาอยู่ในตำแหน่งประธาน ทำหน้าที่ประธาน และเอาประธานไปอยู่ในตำแหน่งกรรม ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมดซะทีเดียว ยังมีเงื่อนไขอื่นๆประกอบอีก (หลักการเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice พร้อมทั้งเงื่อนไขต่างๆ)

มาถึงจุดนี้ อาจจะเกิดความสงสัยว่า eat (กิน) แต่ is eaten (ถูกกิน) เอ๊ะ..! มันยังงัยกัน..? ซึ่ง is eaten นี้ มันเป็นโครงสร้างประโยคของ Passive voice ซึ่งมีโครงสร้างหลักคือ Verb to be + v3 โดย Verb to be ตามโครงสร้างนี้ จะผันเปลี่ยนไปตามประธานและ Tenses ต่างๆทั้ง 12 Tenses และหลักการใช้ Passive voice นี้ ก็เหมือนกันกับ Active voice เพียงแต่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประโยคเท่านั้น

ทีนี้.. เรามาเรียนรู้โครงสร้างของประโยค Passive voice ทั้ง 12 Tenses กัน ว่ามีรูปแบบโครงสร้างอย่างไรบ้าง..? โดยจะแยกการอธิบายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • Present Tenses
  • Past Tenses
  • Future Tenses

สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว เราทราบกันแล้วว่า การที่จะเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice โดยการสลับตำแหน่งกัน ระหว่างประธานกับกรรม โดยการนำกรรมของประโยค Active voice มาอยู่ในตำแหน่งประธานและทำหน้าที่ประธานของประโยค Passive voice นั้น มีหลักอย่างไร..?

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช่จะเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice ได้ทั้งหมดทุกประโยค ยังมีเงื่อนไขข้อยกเว้นอื่นๆประกอบอีก

ทีนี้.. เรามาดูกันต่อว่า มีข้อห้ามหรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง..? ที่ไม่สามารถเปลี่ยนประโยค Active voice เป็น Passive voice ได้

ข้อยกเว้น ก็คือ มีคำกริยาบางคำที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น Passive voice ได้ คือ

1. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ (Intransitive verbs)

  • He runs very fast.
  • I slept well last night.
  • Jane drives to school every day.

คำกริยากลุ่มนี้ ไม่สามารถนำมาทำเป็นประโยค Passive voice ได้เลย

2. คำกริยาที่มีกรรมมารองรับ (Transitive verbs) บางคำ ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นประโยค Passive voice ได้ เช่น belong, have, own, possess, fit, lack, resemble, suit เป็นต้น

  • Jim has a Thai Bangkaew dog.
  • A Thai Bangkaew dog is had by Jim.
  • This coat doesn’t fit me.
  • I am not fitted by this coat.
  • She resembles a princess. (เธอคล้ายกับเจ้าหญิง)
  • A princess is resembled by her.
  • Jim lack tact. (จิมขาดไหวพริบ)
  • Tact is lacked by Jim.
  • This house belongs to me. (บ้านหลังนี้เป็นของผม)
  • I am belonged by this house.

3. คำกริยาที่ไม่สมบูรณ์ความ (Verb of incomplete Predication) คำกริยาในกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ แต่จะไม่มีใจความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง กล่าวคือ จะต้องมีคำอื่นๆ (Complement) มาประกอบหรือขยายความให้ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น is, am, are, was, were, look, become, seem เป็นต้น

  • Jim became a doctor.
  • A doctor was become by Jim.
  • I am an English teacher.
  • An English teacher is been by me.
  • She looks very sad.
  • Very sad is looked by her.

คำกริยาในกลุ่มนี้ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็น Passive voice ได้เลย เพราะคำที่ตามหลังคำกริยาเหล่านี้ ไม่ใช่กรรม แต่เป็นส่วนเติมเต็ม (Complement) ที่มาช่วยขยายให้ได้ใจความสมบูรณ์เท่านั้น