ในภาษาอังกฤษ มักจะนำคำนาม (Nouns) คำกริยา (Verbs) คำคุณศัพท์ (Adjectives) คำบุพบท (Prepositions) คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) มาใช้ร่วมกัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันนี้ว่า Collocation คำปรากฏร่วม เป็นการเชื่อมคำหรือกลุ่มคำ วลี (Phrase) รวมทั้งสำนวน (Idiom) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนี้ ได้กำหนดไว้แน่ชัดว่าจะใช้คู่กับคำอะไร จะใช้คำอื่นแทนหรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนนั้น จะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม

ทีนี้.. มาดูกันว่า ถ้าเรานำคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) มาใช้คู่กับคำคุณศัพท์ (Adjectives) จะมีคำอะไรบ้าง..?

ตัวอย่างเช่น

  • She’s not just anti-social; he’s utterly alone. (เธอไม่เพียงแต่ต่อต้านสังคม เธอยังโดดเดียวอย่างแท้จริง)
  • Jane always looks utterly beautiful. (เจนดูสวยที่สุดเสมอ)
  • He wasn’t utterly wrong. (เขาไม่ผิดอย่างสิ้นเชิง)
  • I’m deeply sorry for your loss. (ผมเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการสูญเสียของคุณ)
  • Her family’s deeply worried about her. (ครอบครัวของเธอเป็นห่วงเธออย่างมาก)
  • It’s a deeply committed performance. (มันเป็นการแสดงที่มุ่งมั่นอย่างที่สุด)
  • Jim is deeply ashamed of what he has done. (จิมรู้สึกละอายใจอย่างยิ่งกับสิ่งที่เขาทำ)

นี่คือ ตัวอย่างคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) คู่กับคำคุณศัพท์ (Adjectives) บางส่วนที่นำมาใช้ร่วมกัน กลายเป็นคำปรากฎร่วม Collocation ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายหลายคำ เราจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และพยายามจดจำให้ได้ ว่าคำไหนใช้คู่กับคำอะไร มีความหมายเช่นไร จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง..

Adverb คำกริยาวิเศษณ์ ก็คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ส่วนใหญ่นั้น มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการนำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) มาเติม ly

ทีนี้.. เรามาดูหลักการเปลี่ยน (Adjective) คำคุณศัพท์ เป็น (Adverb) คำกริยาวิเศษณ์ว่า มีหลักการอย่างไรบ้าง..?

1. คำคุณศัพท์ (Adjective) โดยทั่วไป เติม ly เช่น

  • quiet-quietly (อย่างเงียบ)
  • quick-quickly (อย่างเร็ว)
  • beautiful-beautifully (อย่างสวยงาม)
  • great-greatly (อย่างยิ่งใหญ่)
  • fabulous-fabulously (อย่างที่สุด)

รวมทั้งคำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย e ก็ให้เติม ly ได้เลย

  • immediate-immediately (อย่างทันที)
  • complete-completely (อย่างเสร็จสิ้น)
  • brave-bravely (อย่างกล้า)
  • wise-wisely (อย่างฉลาด)
  • polite-politely (อย่างสุภาพ)

ยกเว้น Adjective ที่ลงท้ายด้วย ue ให้ตัด e แล้วเติม ly เช่น

  • true-truly (อย่างแท้จริง)
  • due-duly (อย่างหมาะสม)
  • undue-unduly (อย่างมากเกินไป)

ยกเว้น

  • vague-vaguely (อย่างคลุมเครือ)
  • oblique-obliquely (อย่างอ้อมๆ) ให้เติม ly ได้เลย

2. คำคุณศัทพ์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย y แล้วหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ly เช่น

  • angry-angrily (อย่างโกรธ)
  • happy-happily (อย่างมีความสุข)
  • ready-readily (อย่างเต็มใจ)
  • noisy-noisily (อย่างเสียงดัง)
  • easy-easily (อย่างง่ายดาย)

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เติม ly ได้เลย เช่น

  • shy-shyly (อย่างอาย)
  • sly-slyly (อย่างมีเลศนัย)
  • coy-coyly (อย่างขี้อาย)
  • ยกเว้น gay-gayly หรือ gaily (อย่างร่าเริง)

3. คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย ic ให้เติม ally เช่น

  • economic-economically (ทางเศรษฐกิจ)
  • automatic-automatically (อัตโนมัติ)
  • magic-magically (อย่างมีเวทมนตร์)
  • energetic-energetically (อย่างมีพลัง)
  • majestic-majestically (อย่างสง่าผ่าเผย)

4. คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย le แล้วหน้า le เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน e เป็น y เช่น

  • simple-simply (อย่างง่าย)
  • possible-possibly (เป็นไปได้)
  • terrible-terribly (อย่างเลวร้าย)
  • responsible-responsibly (อย่างรับผิดชอบ)
  • gentle-gently (อย่างอ่อนโยน)

แต่ถ้าหน้า le เป็นสระ ให้เติม ly ได้เลย เช่น

  • sole-solely (โดยลำพัง)
  • vile-vilely (อย่างเลวทราม)
  • agile-agilely (อย่างว่องไว)
  • ยกเว้น whole-wholly (ทั้งหมด)

หมายเหตุ คำคุณศัพท์เมื่อเติม ly เป็นคำกริยาวิเศษณ์แล้ว มีความหมายไม่แตกต่าง เพียงแต่แปลเพิ่มเป็น " อย่าง " แต่บางคำก็มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น

  • hard (ยากลำบาก) – hardly (ไม่ค่อยมี)
  • high (สูง) – highly (อย่างมาก)
  • late (สาย) – lately (เมื่อเร็วๆนี้)
  • near (ใกล้) – nearly (เกือบจะ)
  • wide (กว้าง) – widely (โดยทั่วไป)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นหลักการเปลี่ยนคำคุณศัพท์ (Adjective) ให้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) และยังช่วยให้เรานำมาใช้สังเกตว่า คำไหนเป็นคำคุณศัพท์ คำไหนเป็นกริยาวิเศษณ์ ทำให้เราสามารถนำคำศัพท์มาใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์