Adverb คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทีนี้.. เรามารู้จักคำกริยาวิเศษณ์กันต่อว่า Adverb นั้น มีคำลักษณะไหนบ้าง..?

1. คำกริยาวิเศษณ์ Adverb ที่มีลักษณะเป็นกริยาวิเศษณ์โดยตรง เช่น fast, well, hard, now, soon, still, very, too, quite, often, never, always, ever, here, there, abroad, far, ago, tomorrow, yesterday ฯลฯ ตัวอย่างประโยคเช่น

  • Jim speaks Thai well. (จิมพูดภาษาไทยได้ดี)
  • She never walk to school. (เธอไม่เคยเดินไปโรงเรียน)
  • He'll go to Paris tomorrow. (เขาจะไปปารีสพรุ่งนี้)
  • Leave your bag here. (วางกระเป๋าคุณไว้ที่นี่)

2. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยการเติม ly เช่น

  • bad-badly (อย่างเลว)
  • careful-carefully (อย่างระวัง)
  • slow-slowly (อย่างช้า)
  • excited-excitedly (อย่างตื่นเต้น)
  • horrible-horribly (อย่างน่ากลัว)
  • sole-solely (แต่ผู้เดียว)
  • hungry-hungrily (อย่างหิว)
  • shy-shyly (อย่างเอียงอาย)
  • dramatic-dramatically (อย่างละคร)

หลักการเปลี่ยนคำคุณศัพท์ (Adjective) เป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverb) โดยการเติม ly มีดังนี้..

3. Adverb คำกริยาวิเศษณ์บางคำอาจมาจากคำนาม Noun เช่น

  • week-weekly (รายสัปดาห์)
  • quarter-quarterly (ทุก 3 เดือน)
  • day-daily (รายวัน)
  • wriggle-wriggly (อย่างคดเคี้ยว)

Adverbs คำกริยาวิเศษณ์ นอกจากมีหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) แล้ว ยังมีหน้าที่ในการขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) และยังช่วยขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเองอีกด้วย

ทีนี้.. เรามาดู Functions of Adverbs หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์ ว่าทำหน้าที่อย่างไรบ้าง..?

Function of Adverb หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์

1. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) ในประโยค เช่น

  • A horse runs fast. (ม้าวิ่งเร็ว) fast กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา run เพื่อให้รู้ว่า วิ่งเร็ว
  • He worked hard. (เขาทำงานหนัก) hard เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา work เพื่อให้รู้ว่า ทำงานหนัก
  • Tom speaks Thai well. (ทอมพูดภาษาไทยได้ดี) well เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา speak เพื่อให้รู้ว่า พูดได้ดี

2. ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) ในประโยค เช่น

  • He is extremely forgetful. (เขาเป็นคนขี้ลืมอย่างมาก) extremely เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายคุณศัพท์ forgetful ว่า ขี้ลืมอย่างมาก
  • Your car is very expensive. (รถของคุณแพงมาก) very เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายคุณศัทพ์ expensive ว่า แพงมาก
  • Coffee is too hot. (กาแฟร้อนเกินไป) too เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายคุณศัพท์ hot เพื่อให้รู้ว่า ร้อนเกินไป

3. ทำหน้าที่ขยายกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง เช่น

  • He drives so fast. (เขาขับรถเร็วมาก) so เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยาย fast กริยาวิเศษณ์ ว่า เร็วมาก
  • Jane danced very beautifully. (เจนเต้นรำได้สวยงามมาก) very เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยาวิเศษณ์ beautifully ว่า สวยงามมาก
  • Tim works quite carefully. (ทิมทำงานอย่างระมัดระวังดีทีเดียว) quite เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยาย carefully กริยาวิเศษณ์ ว่า อย่างระมัดระวังดีทีเดียว

คำกริยาวิเศษณ์ Adverb ไม่ยากอย่างที่คิดใช่มั้ยค่ะ..? เมื่อเรารู้หน้าที่ Adverb ว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง เราก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

Adverbs คำกริยาวิเศษณ์ นอกจากมีหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) แล้ว ยังมีหน้าที่ในการขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) และยังช่วยขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเองอีกด้วย เมื่อเรารู้ Functions of Adverbs หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์ ว่าทำหน้าที่อย่างไรแล้ว เราก็มาดูกันต่อว่า Types of Adverbs คำกริยาวิเศษณ์นั้น มีกี่ชนิด กี่ประเภท มีอะไรบ้าง..?

Type of Adverb ชนิดของคำกริยาวิเศษณ์ แบ่งแยกย่อยออกได้ ดังนี้

1. Adverbs of Time กริยาวิเศษณ์บอกเวลา เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น today, yesterday, tonight, tomorrow, now, soon, then, late, early, recently, eventually, afterwards, lately ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • It’s time to leave now. (ได้เวลาไปแล้ว) now เป็นกริยาวิเศษณ์ขยายกริยา leave เพื่อบอกเวลา
  • Jane will arrive soon. (เจนจะมาถึงเร็วๆนี้) soon เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา arrive เพื่อบอกเวลา

2. Adverbs of Place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เช่น here, there, over there, abroad, away, elsewhere, nowhere, somewhere, everywhere, backward, upstairs, downstairs ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • She went upstairs. (เธอขึ้นไปข้างบน) upstairs เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา went เพื่อบอกสถานที่
  • Paul is abroad. (พอลอยู่ต่างประเทศ) abroad เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา is เพื่อบอกสถานที่

3. Adverbs of Frequency กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ เพื่อบ่งบอกว่ากระทำนั้นเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน เช่น always, often, sometimes, never, seldom, hardly, usually, once, twice, generally, rarely, regularly ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • Jim always goes to school with me. (จิมไปโรงเรียนกับฉันเสมอ) always เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา goes เพื่อบอกความถี่
  • She hardly drinks coffee. (เธอแทบจะไม่ดื่มกาแฟ) hardly เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา drinks เพื่อบอกความถี่

เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ จึงสรุปหลักการใช้ Adverbs of frequency กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ ว่าแต่ละคำนั้น ใช้บอกความถี่ในระดับไหน อย่างไร..?

4. Adverbs of manner กริยาวิเศษณ์บอกอาการ เพื่อบ่งบอกลักษณะอาการหรือท่าทาง เช่น fast, well, quickly, slowly, hard, bravely, carefully, clearly, happily, beautifully, late, quietly, easily, simply, suddenly, patiently ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • Joy waits patiently for the bus. (จอยรอรถเมล์อย่างอดทน) patiently กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา waits เพื่อบอกลักษณะอาการ
  • Paul came late. (พอลมาสาย) late เป็นกริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา came เพื่อบอกลักษณะอาการ

5. Adverbs of degree กริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกระดับความมากน้อย เป็นการเน้นให้เห็นถึงการกระทำหรืออาการที่เกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราใช้ Adverbs ประเภทนี้ เป็นการเน้นมากที่สุดกว่า Adverbs ประเภทอื่นๆ เช่น very, fairly, quite, too, nearly, partly, absolutely, entirely, completely, really, almost, so, only ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • She believes him completely. (เธอเชื่อเขาอย่างสิ้นเชิง) completely กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา believes เพื่อเน้นย้ำ
  • He treats me fairly. (เขาปฎิบัติต่อผมอย่างยุติธรรม) fairly กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา treats เพื่อเน้นยำ

6. Adverbs of interrogative กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ถามคำถาม อาจจะเป็นคำถามเกี่ยวกับเวลา สถานที่ จำนวนนับ ลักษณะท่าทาง ปริมาณหรือเหตุผลต่างๆ เช่น when, where, why, how ตัวอย่างเช่น

  • Where do you live? (คุณอาศัยอยู่ที่ไหน) where กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา live เพื่อใช้เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานที่
  • Why didn’t Jack come? (ทำไมแจ็คไม่มา) why กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา come เพื่อใช้ถามเหตุผล

7. Adverbs of relative กริยาวิเศษณ์ ที่ใช้เชื่อมคำหรือข้อความให้ชัดเจนเป็นเนื้อความเดียวกัน เช่น when, where, why, how ตัวอย่างเช่น

  • I love you when you love me. (ฉันรักคุณเมื่อคุณรักฉัน) when กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา love ให้ชัดเจนว่ารักเมื่อไหร่ และเชื่อมข้อความให้เป็นข้อความเดียวกัน
  • I know where you stay. (ผมรู้ว่าคุณพักที่ไหน) where กริยาวิเศษณ์ ขยายกริยา know ให้ชัดเจนว่ารู้สถานที่ และเชื่อมข้อความให้เป็นข้อความเดียวกัน

เมื่อเรารู้หน้าที่ของ Adverbs ว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง รู้ประเภทของคำกริยาวิเศษณ์ ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง เราก็สามารถนำ Adverbs ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง