Present Simple Tense ก็คือ ปัจจุบันกาลแบบเรียบง่าย เป็นเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมีโครงสร้างของประโยค ดังนี้

หมายเหตุ *.. ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (He, She, It, Jane) กริยาจะต้องเติม s, es หรือ ies โดยมีหลักดังนี้

· คำกริยาทั่วๆไปเติม s เช่น drink-drinks, forget-forgets, steal-steals, take-takes

· คำกริยาที่ลงท้ายด้วย o, s, x, z, ss, sh และ ch ให้เติม es เช่น go-goes, wash-washes, watch-watches, miss-misses

· คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y มี 2 กรณีคือ

o ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i เติม es เช่น cry-cries, study-studies, try-tries, fly-flies

o ถ้าหน้า y เป็นสระ เติม s เช่น play-plays, buy-buys, enjoy-enjoys

หลักการใช้ Present Simple Tense มีดังนี้ คือ

1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงหรือข้อเท็จจริงโดยทั่วๆไป หรือความจริงตามธรรมชาติ

· She goes to work by bus. (เธอไปทำงานโดยรถประจำทาง)

· I am an English teacher. (ฉันเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ)

· She is beautiful. (เธอสวย, เธอเป็นคนสวย)

· My dogs eat Pedigree. (สุนัขของฉันกินเพดดิกรี)

· The earth moves around the sun. (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์)

· The sun sets in the west and rises in the east. (พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกและขึ้นทางทิศตะวันออก)

· Water becomes ice at 0 degrees Celsius and boils at 100 degrees Celsius. (น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่ 0 องศาเซลเซียสและเดือดที่ 100 องศาเซลเชียส

2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำหรือเป็นกิจวัตร รวมถึงนิสัย

· He watches television every night. (เขาดูโทรทัศน์ทุกคืน)

· Students drink milk every day. (นักเรียนดื่มนมทุกวัน)

· Jim always play guitar. (จิมเล่นกีร์ต้าเสมอๆ)

· My father often drops me at school. (พ่อไปส่งฉันที่โรงเรียนบ่อยๆ)

หมายเหตุ *.. Adverbs of frequency กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ (always, often, sometimes, never, hardly) มักจะใช้คู่กับ Present Simple Tense

3. ใช้ในการแสดงความคิดเห็นหรือความชอบ

· We love our school. (เรารักโรงเรียนของเรา)

· Jack likes Thai food. (แจคชอบอาหารไทย)

· I hate snakes. (ฉันเกลียดงู)

4. ใช้กล่าวถึงตารางเวลาต่างๆ

· Train arrives at the train station every 1 hour. (รถไฟมาถึงสถานีรถไฟทุกๆ 1 ชั่วโมง)

· The bank opens at 8.30 am. and closes at 16.30 pm. (ธนาคารเปิดทำการเวลา 8.30 น. และปิดทำการเวลา 16.30 น.)

เมื่อเราต้องการทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ ในกรณีที่ประโยคมี Verb แท้ เราจะต้องนำ Verb to do มาช่วย

โดยในประโยคคำถามนั้น Do/Does อยู่หน้าประธาน ใช้ขึ้นต้นประโยค

Do ใช้กับประธานพหูพจน์ (they, we, Jim and Jack, dogs)

Does ใช้กับประธานเอกพจน์ (he, she, it, Nick, cat)

· Do they work at your company? (พวกเขาทำงานที่บริษัทคุณหรือเปล่า)

· Does Jane lives in Bangkok? (เจนอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯหรือเปล่า)

ส่วนประโยคปฏิเสธ do/does + not (don’t/doesn’t) อยู่หลังประธาน

· They do not work at my company. (พวกเขาไม่ได้ทำงานที่บริษัทฉัน)

· Jane doesn’t live in Bangkok. (เจนไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ)

หมายเหตุ *.. Verb1 ในประโยคคำถามและปฏิเสธนั้น จะต้องไม่ผันตาม Tenses หรือตามประธาน คือ ไม่เติม s, es, ies, ing หรือ V2, V3

เพราะในประโยคมี do/dose ผันตามประธานหรือ Tenses อยู่แล้ว

ดังนั้น Verb1 จะต้องเป็น Verb ที่ไม่เติมอะไรทั้งนั้น

แต่ถ้าประโยคคำถามหรือปฏิเสธนั้นมีกริยาแท้เป็น verb to be (is, am, are) ไม่ต้องใช้ do/does มาช่วย ใช้ verb to be (is, am, are) ได้เลย


is ใช้กับประธานเอกพจน์ (he, she, it, Nai)
am ใช้กับ I
are ใช้กับประธานพหูพนจ์ (we, they, birds)

รูปแบบอย่างย่อ is not/isn’t และ are not/aren’t

โครงสร้างประโยคคำถาม

· Are you at home? (คุณอยู่บ้านมั้ย)

· Is she beautiful? (เธอสวยมั้ย)

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ

· I am not at home. (ฉันไม่ได้อยู่บ้าน)

· She isn't beautiful. (เธอไม่สวย)